Inclusive Education++

Inclusive Education

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

1. ในชั่วโมงเรียนฝึกให้เด็กนั่งตัวให้ตรงแม้ว่าจะมีปัญหาก็ตามแต่เด็กต้องใช้ความพยายาม
2. ครูจะต้องทำความเข้าใจกับกลไกการทำงานของเครื่องมือต่างๆที่ติดมากับตัวเด็กเพื่อจะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการสอนของครู
3. ฝึกให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้พิมพ์แทนการเขียน
4. การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพของเด็ก
5. ครูควรให้เวลาในการทำงาน หรือทำกิจกรรมให้มากขึ้น
6. เน้นการพัฒนาทางจิตใจเพื่อให้เด็กมีภาพพจน์ที่ดีเกี่ยวกับตนเองและยอมรับความเป็นจริง
7. เน้นการสื่อสารเพื่อให้สื่อความหมายกับผู้อื่นโดยสื่อหลากหลาย
8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด
9. ควรจัดการศึกษาพิเศษตั้งแต่ระดับอนุบาล
10. จัดเด็กพิการที่ไม่มีปัญหาด้านอื่นเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป
11. ครูควรขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของเด็กมากยิ่งขึ้น
12. ให้เด็กใช้ปากกาหรือดินสอที่เขียนออกง่ายโดยไม่ต้องใช้แรงกดมาก
13. อัดเทปให้เด็กฟังแทนการโน้ตย่อกรณีที่เป็นข้อความยาวหลายหน้ากระดาษ
14. สอนเป็นรายบุคคล การจัดประสบการณ์ให้เด็กเหล่านี้สำคัญมาก เพราะเด็กเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับประสบการณ์ตรง การให้ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ การออกศึกษานอกสถานที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น ครูจะต้องมีทักษะในการกระตุ้นเด็กที่มีความคับข้องใจ และเด็กที่มักแยกตัวออกไปอยู่คนเดียวให้เรียนรู้และทำกิจกรรม รวมทั้งมีทักษะในการจัดการกับอารมณ์รุนแรงของเด็ก อย่างไรก็ตามกิจกรรมการสอนบางอย่างการสอนเป็นกลุ่มก็ยังจำเป็นอย่างยิ่ง
15. เด็กพิการทางร่างกายและสุขภาพ ถ้าร่างกายพิการอย่างเดียวไม่มีความพิการซ้อน จะสามารถเรียนร่วมชั้นปกติได้ เพราะไม่มีความผิดปกติด้านอื่นๆ เช่น สมอง ในเด็กที่ความพิการซ้อนอยู่นั้น จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
16. การใช้วิธีการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการให้เป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การให้รางวัล การทำสัญญา ฯลฯ
17. การใช้วิธีการต่างๆ ในการสอนการรับรู้ทั้งการเห็นและการได้ยิน โดยนำเอา เกม นิทาน รูปภาพ บทกลอน โคลง แบบฝึกหัด ฯลฯ มาใช้ฝึกเด็กให้สามารถบอกความแตกต่างของสิ่งที่มองเห็นหรือได้ยิน มีความประสานสัมพันธ์ของตาและการเคลื่อนไหวของร่างกาย สามารถมองเห็นความคงที่ขอรูปทรง เช่น วิธีสอนการอ่านแบบให้ดูแล้วพูดตาม การให้ฟังคำหรือประโยคแล้วหาเสียงสระหรือพยัญชนะ การให้หาสิ่งของจากรูปภาพเป็นต้น
18. การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า แผ่นพลาสติก ครอบแป้นพิมพ์โต๊ะคอกสำหรับยืน ที่เปิดหน้าหนังสือ ฯลฯ
19. การเพิ่มเติมหลักสูตร อันอาจจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กร่างกายพิการเหล่านี้ เช่น การฝึกการเคลื่อนไหว โดยการสอนให้วางแผนการเดินทางในบริเวณโรงเรียน อาจช่วยให้บางคนประหยัดแรงงานที่เด็กพิการร่างกายมีจำกัด
เด็กในระดับชั้นมัธยม การสอนทักษะการเขียนเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำต่อเนื่องทั้งการเขียนด้วยมือและพิมพ์ดีด หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอาจจะสอนเพิ่มเติมในเรื่องของการขับรถ นันทนาการ การใช้เวลาว่าง การบริหารร่างกายต่างๆ เท่าที่จะทำได้ เช่น ว่ายน้ำ รวมทั้งเพศศึกษาด้วย
20. การให้ความช่วยเหลือการเรียน อาจทำได้ ดังนี้
- ใช้การติดกระดาษบนโต๊ะ เพื่อเขียนหนังสือ
- ผูกดินสอกับโต๊ะ จะได้หมดปัญหาในการก้มเก็บเวลาดินสอตก
- อนุญาตให้เด็กตอบคำถามปากเปล่า หรืออัดเทปส่งงานแทนการเขียน
- ให้สมุดจดบันทึกของครูแก่เด็กพิการที่เขียนช้าหรืออาจให้เพื่อนใช้กระดาษคาร์บอนจดให้
- ให้เด็กใช้สะพายกระเป๋าสำหรับขนหนังสือและอุปกรณ์การเรียนจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งเมื่อเด็กต้องใช้ไม้ค้ำยัน
- ให้เวลาสอนเด็กพิการที่เขียนช้ามากกว่าคนอื่นๆ
- ให้เวลาเด็กพิการมากขึ้นหรือให้งานให้น้อยลง
- ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว เช่น จัดสถานที่เรียนให้สะดวกแก่เด็ก
- บริการด้านอุปกรณ์จำเป็น เช่น เครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะคอกสำหรับยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน