Inclusive Education++

Inclusive Education

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

1. ในชั่วโมงเรียนฝึกให้เด็กนั่งตัวให้ตรงแม้ว่าจะมีปัญหาก็ตามแต่เด็กต้องใช้ความพยายาม
2. ครูจะต้องทำความเข้าใจกับกลไกการทำงานของเครื่องมือต่างๆที่ติดมากับตัวเด็กเพื่อจะได้ไม่เป็นอุปสรรคในการสอนของครู
3. ฝึกให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้พิมพ์แทนการเขียน
4. การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพของเด็ก
5. ครูควรให้เวลาในการทำงาน หรือทำกิจกรรมให้มากขึ้น
6. เน้นการพัฒนาทางจิตใจเพื่อให้เด็กมีภาพพจน์ที่ดีเกี่ยวกับตนเองและยอมรับความเป็นจริง
7. เน้นการสื่อสารเพื่อให้สื่อความหมายกับผู้อื่นโดยสื่อหลากหลาย
8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด
9. ควรจัดการศึกษาพิเศษตั้งแต่ระดับอนุบาล
10. จัดเด็กพิการที่ไม่มีปัญหาด้านอื่นเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป
11. ครูควรขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของเด็กมากยิ่งขึ้น
12. ให้เด็กใช้ปากกาหรือดินสอที่เขียนออกง่ายโดยไม่ต้องใช้แรงกดมาก
13. อัดเทปให้เด็กฟังแทนการโน้ตย่อกรณีที่เป็นข้อความยาวหลายหน้ากระดาษ
14. สอนเป็นรายบุคคล การจัดประสบการณ์ให้เด็กเหล่านี้สำคัญมาก เพราะเด็กเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับประสบการณ์ตรง การให้ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ การออกศึกษานอกสถานที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น ครูจะต้องมีทักษะในการกระตุ้นเด็กที่มีความคับข้องใจ และเด็กที่มักแยกตัวออกไปอยู่คนเดียวให้เรียนรู้และทำกิจกรรม รวมทั้งมีทักษะในการจัดการกับอารมณ์รุนแรงของเด็ก อย่างไรก็ตามกิจกรรมการสอนบางอย่างการสอนเป็นกลุ่มก็ยังจำเป็นอย่างยิ่ง
15. เด็กพิการทางร่างกายและสุขภาพ ถ้าร่างกายพิการอย่างเดียวไม่มีความพิการซ้อน จะสามารถเรียนร่วมชั้นปกติได้ เพราะไม่มีความผิดปกติด้านอื่นๆ เช่น สมอง ในเด็กที่ความพิการซ้อนอยู่นั้น จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
16. การใช้วิธีการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการให้เป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การให้รางวัล การทำสัญญา ฯลฯ
17. การใช้วิธีการต่างๆ ในการสอนการรับรู้ทั้งการเห็นและการได้ยิน โดยนำเอา เกม นิทาน รูปภาพ บทกลอน โคลง แบบฝึกหัด ฯลฯ มาใช้ฝึกเด็กให้สามารถบอกความแตกต่างของสิ่งที่มองเห็นหรือได้ยิน มีความประสานสัมพันธ์ของตาและการเคลื่อนไหวของร่างกาย สามารถมองเห็นความคงที่ขอรูปทรง เช่น วิธีสอนการอ่านแบบให้ดูแล้วพูดตาม การให้ฟังคำหรือประโยคแล้วหาเสียงสระหรือพยัญชนะ การให้หาสิ่งของจากรูปภาพเป็นต้น
18. การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า แผ่นพลาสติก ครอบแป้นพิมพ์โต๊ะคอกสำหรับยืน ที่เปิดหน้าหนังสือ ฯลฯ
19. การเพิ่มเติมหลักสูตร อันอาจจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กร่างกายพิการเหล่านี้ เช่น การฝึกการเคลื่อนไหว โดยการสอนให้วางแผนการเดินทางในบริเวณโรงเรียน อาจช่วยให้บางคนประหยัดแรงงานที่เด็กพิการร่างกายมีจำกัด
เด็กในระดับชั้นมัธยม การสอนทักษะการเขียนเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำต่อเนื่องทั้งการเขียนด้วยมือและพิมพ์ดีด หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอาจจะสอนเพิ่มเติมในเรื่องของการขับรถ นันทนาการ การใช้เวลาว่าง การบริหารร่างกายต่างๆ เท่าที่จะทำได้ เช่น ว่ายน้ำ รวมทั้งเพศศึกษาด้วย
20. การให้ความช่วยเหลือการเรียน อาจทำได้ ดังนี้
- ใช้การติดกระดาษบนโต๊ะ เพื่อเขียนหนังสือ
- ผูกดินสอกับโต๊ะ จะได้หมดปัญหาในการก้มเก็บเวลาดินสอตก
- อนุญาตให้เด็กตอบคำถามปากเปล่า หรืออัดเทปส่งงานแทนการเขียน
- ให้สมุดจดบันทึกของครูแก่เด็กพิการที่เขียนช้าหรืออาจให้เพื่อนใช้กระดาษคาร์บอนจดให้
- ให้เด็กใช้สะพายกระเป๋าสำหรับขนหนังสือและอุปกรณ์การเรียนจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งเมื่อเด็กต้องใช้ไม้ค้ำยัน
- ให้เวลาสอนเด็กพิการที่เขียนช้ามากกว่าคนอื่นๆ
- ให้เวลาเด็กพิการมากขึ้นหรือให้งานให้น้อยลง
- ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว เช่น จัดสถานที่เรียนให้สะดวกแก่เด็ก
- บริการด้านอุปกรณ์จำเป็น เช่น เครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะคอกสำหรับยืน

การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ


การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ควรใช้หลักการทั่วไปที่ใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการประเภทต่างๆ ดังนี้
1. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละคน โดยจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program = IEP )
2. จัดให้คนพิการได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละคนอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
3. จัดทำแผนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดหลักสูตรในแต่ละระดับ
ระดับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร มี 3 ระดับ คือ
1. ระดับวัยก่อนเรียน หลักสูตรสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายในระดับนี้ ควรเน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการสื่อสาร (การสื่อความหมาย) การเคลื่อนไหวรวมไปถึงการพัฒนา กล้ามเนื้อใหญ่ (แขน ขา) และกล้ามเนื้อเล็ก (นิ้วมือ) จุดมุ่งหมายสำคัญของการเตรียมความพร้อมในระดับนี้คือให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากนัก
ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเด็กประเภทนี้ คือการพูดและภาษา ซึ่งในบางรายอาจช้ากว่าเด็กปกติ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะด้านการพูดและภาษาของเด็กให้สามารถสื่อสารกับ ผู้อื่นได้
2. ระดับประถมศึกษา หลักสูตรในระดับประถมศึกษาอาจเป็นหลักสูตรเดียวกันกับที่ใช้สำหรับเด็กปกติ แต่ความแตดต่างที่สำคัญในระดับประถมศึกษา คือ หลักสูตรสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ควรเน้นทักษะทางสังคม ทั้งนี้บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพยังขาดทักษะในการติดต่อ ผูกมิตรกับเด็กปกติ อาจเป็นเพราะเด็กหลายคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความพิการของตนเอง ดังนั้นหลักสูตรในระดับนี้ ควรเน้นทักษะในทางสังคมเพิ่มเติมในหลักสูตรสำหรับเด็กปกติ
3. ระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ควรมีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากเด็กปกติมากนัก เพราะเด็กประเภทนี้ส่วนมากต้องการได้รับการรับรองว่ามีความสามารถด้านการเรียนเท่าเทียมกับเด็กปกติ จุดเน้นของหลักสูตรในระดับนี้อยู่ที่หมวดสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและการเตรียมความพร้องทางด้านอาชีพ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เมื่อจบจากโรงเรียนไปแล้ว ทักษะที่นักเรียนจำเป็นต้องมี อาจได้แก่ การใช้บริการรถสาธารณะ การดูแลรักษาบ้านเรือนของตนเอง การดูแลรักษาสุขภาพของตน การดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือในการบำบัด การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการหางานทำ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนแก่เด็กประเภทนี้ ยังต้องใช้แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
1. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายให้มีโอกาสเรียนร่วมในชั้นปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ให้โอกาสกับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ให้มีความรู้ทักษะในด้านวิชาการ สังคม และวิชาชีพเพื่อให้มีพัฒนาการสูงสุด
3. ให้โอกาสกับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ให้มีความรู้และทักษะในด้านวิชาการ การสื่อความหมาย การคำนวณ การรู้จักคิด การวิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. การฝึกทักษะชดเชยกับทักษะด้านที่สูญเสียไป เพื่อให้เด็กได้พัฒนาสูงสุดตามศักยภาพของตน
5. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเอง

สาเหตุของความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว

สาเหตุของความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว


1. สาเหตุระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้าง
ของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ช่วง 3 เดือนแรก ถ้ามีความผิดปกติของการตั้งครรภ์ระยะนี้อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการได้ ตัวอย่างได้แก่ มารดาเป็นหัดเยอรมัน หรือมีประวัติใช้ยาหรือรักษาด้วยยา สูบบุหรี่ หือติดเหล้า มารดาเป็นโรคเบาหวาน มารดาได้รับบาดเจ็บ หรือการกระทบกระแทกที่หน้าท้อง มารดาได้รับแสงกัมมันตรังสี หรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อการ
เจริญเติบโตของเด็กหรือภาวะทุโภชนาการทำให้ขาดสารอาหาร

2. สาเหตุจากโรคทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดความผิดปกติมาทางสายเลือด เด็กใน
ครรภ์อาจดิ้นไม่แรง หรือไม่ดิ้น เนื่องจากมีความผิดปกติของร่างกาย เช่นมีภาวะไขสันหลังฝ่อ (Spinal Muscular Atrophy) หรือเป็นโรคข้อยึดติด (Arthrogryposis) หรือเป็นอัมพาตของขาเนื่องจากมีความผิดปกติของการสร้างกระดูกสันหลังที่มาห่อหุ้มไขสันหลังในระดับสูง (Myelodysplasia) เด็กอาจเป็นโรคกระดูกอ่อนหักง่าย(Osteogenesis Imperfecta) หรือโรคกล้ามเนื้อพิการ (Muscular Dystrophy)

3. ความผิดปกติระหว่างคลอดหรือหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด เช่น
คลอดยาก คลอดโดยการใช้เครื่องมือหรือผ่าตัดคลอด คลอดท่าก้น คลอดก่อนกำหนด หรือหลังกำหนด เด็กมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอดหรืออาจมีเลือดออกในสมอง ทำให้มีความผิดปกติของสมอง เด็กอาจแสดงอาการหายใจลำบาก ตัวอ่อนปวกเปียก ไม่กลืนนม มีอาการชัก หรือซึม เด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวน้อย เป็นสาเหตุของสมองพิการชนิดเกร็งได้ (Cerebral Palsy) ส่วนเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากอาจได้รับอันตรายระหว่างคลอด ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมองและไขสันหลัง หรือกลุ่มเส้นประสาทเบรเคียล (Brachial Plexus Injury) เด็กที่มีอาการตัวเหลืองหลังคลอด อาจทำให้พิการชนิด
เคลื่อนไหวผิดปกติ

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นิยามทางการศึกษาของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสุขภาพ

ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา               หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล

นิยามทางการแพทย์ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสุขภาพ

ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำ เนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการ แก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถให้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่อง อาจหมดไป

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำจำกัดความ

บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือสุขภาพ   หมายถึง    บุคคลที่มีอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป      กระดูกและกล้ามเนื้อพิการเจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว   ซึ่ง อุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ

ลักษณะโรคและอาการ


ลักษณะโรคหรือสภาวะที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
 
 1. ซีรีบรัล พัลซี (Cerebral Palsy) หรือกลุ่มสมองพิการ 
 เป็นสภาวะความผิดปกติของ
   ท่าทางและการเคลื่อนไหว     ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพในสมอง   ในช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโต
  ภายใน 8 ปีแรก   แต่ถ้าเด็กมีความพิการทางสมองหลังช่วงอายุนี้  จะไม่เรียกว่า  Cerebral Palsy
  เด็กจะมีความผิดปกติของทางการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก   แก้ม   ลิ้น   ใบหน้า  แขน  ขา
  มีการพัฒนาของปฏิกริยาตอบสนองต่างๆ    ของร่างกายผิดปกติไม่เป็นตามวัย    และมีปฏิกริยา
  ตอบสนอนต่อการกระตุ้น  เอ็นหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ  ทำให้มีกล้ามเนื้อหดสั้น  และดึงให้ข้ออยู่
 ในลักษณะงอหรือผิดรูป  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้  2 กลุ่ม  คือ 
        1.1 กลุ่มเกร็ง (Spastic) เด็กมีกล้ามเนื้อเกร็ง  เคลื่อนไหวได้ช้า  ขาอาจมีอาการมากกว่าแขน  หรือมี      ความผิดปกติครึ่งซีก  หรือผิดปกติทั้งตัว  ทำให้ควบคุม กล้ามเนื้อ คอ ลำตัว และแขน ขาไม่ได้
       1.2  กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia) เด็กไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ ได้ จะมีการแสดงสีหน้า  คอบิด  แขนงอ  หรือเหยียดเปะปะ  ทั้งพูดลำบาก กลืน ลำบาก  อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว  คล้ายอาการขว้างลูกบอล
      เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) มักมีปัญหาทางสายตา  หรือการได้ยินร่วมด้วย และอาจมีปัญหาในการสื่อความหมาย   เด็กจำนวนหนึ่งอาจมีระดับสติปัญญาตํ่า

2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง

     กลุ่มแรก  ได้แก่   กลุ่มที่มีความผิดปกติระหว่าง   การพัฒนาร่างกายในครรภ์  กระดูกสันหลังที่ห่อหุ้มไขสันหลังไม่เชื่อมติดกัน   ทำให้มีการดึงรั้งของประสาท ไขสันหลัง  บางครั้งมีนํ้าในสมองเพิ่มด้วย  เด็กจะมีอาการขาอ่อนแรง ไม่มีความรู้สึก  และควบคุมการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
     กลุ่มที่ 2 เกิดภายหลังจากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง  ได้แก่
อุบัติเหตุทางรถยนต์  ถูกยิง  ถูกแทง  ตกจากที่สูง  หรือการติดเชื้อในไขสันหลังหรือการติดเชื้อในไขสันหลัง   ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับที่ได้รับบาดเจ็บ  ถ้าเกิดในระดับที่สูงมาก    ก็จะมีอาการอัมพาตของแขน และลำตัวร่วมด้วย  กล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรง ก็จะทำให้กระดูกสันหลังคด และกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาต มักมีอาการเกร็ง กระตุก  เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ และการสูญเสียหน้าที่การทำงานของไต ทำให้ไตวายได้ 
3. กลุ่มแขนขาขาด  อาจเป็นแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ หรือเป็นมะเร็งของกระดูก
  ทำให้สูญเสียแขนขาภายหลัง
 
4. โรคโปลิโอ  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ไขสันหลังทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  เป็นอัมพาต    โดยประสาทรับความรู้สึกยังเป็นปกติ   อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง   เกิดขึ้นกระจัด
  กระจายไม่เป็นเฉพาะแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง  อาจมีกล้ามเนื้อลำตัวเป็นอัมพาตด้วย กล้ามเนื้อที่
  อ่อนแรงจะถูกกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าดึงให้ข้อผิดรูป  ทำให้มีกระดูกสันหลังคด  ขาโก่ง  เท้าบิด
  แขนขายาวไม่เท่ากัน  เป็นต้น 
5. ความพิการอื่นๆ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม ข้ออักเสบ ข้อติดยึด กระดูกสันหลังฝ่อ
  กล้ามเนื้อพิการ โรคกระดูกเปราะบาง  เป็นต้น

เกี่ยวกับฉัน